บทความ / เรื่องเล่าจากนิทาน "ไดโนเสาร์มาแล้ว"
Kids & Family
เรื่องเล่าจากนิทาน "ไดโนเสาร์มาแล้ว"
11 เม.ย. 66
7,194
รูปภาพในบทความ เรื่องเล่าจากนิทาน

กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว มีไดโนเสาร์กินพืชฝูงหนึ่งอาศัยอยู่ใกล้กับบริเวณภูเขาไฟ โดยลูก ๆ ไดโนเสาร์ต่างพากันวิ่งเล่นอย่างสนุกสนานจนเสียงดังสั่นสะเทือนไปทั่วทั้งป่า ส่งผลให้สัตว์อื่น ๆ ได้รับความเดือดร้อน แต่ก็ไม่มีสัตว์ตัวใดกล้าพูดเตือนออกไป จนวันหนึ่งฝูงไดโนเสาร์วิ่งเล่นกันมาด้วยความเร็วและชนเข้ากับต้นไม้ใหญ่ ทำให้ไดโนเสาร์เลือดไหลและร้องโอดโอยด้วยความเจ็บปวด และเหตุการณ์นี้เองทำให้ไดโนเสาร์ได้รับรู้ว่าการวิ่งเล่นเสียงดังจนแผ่นดินสะเทือนของพวกตัวเองนั้นสร้างความเดือดร้อนให้สัตว์อื่น ๆ มากแค่ไหน เมื่อได้มีการพูดคุยทำความเข้าใจกับสัตว์อื่น ๆ จากนั้นเป็นต้นมาสัตว์ทุกตัวจึงอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขและเกรงใจซึ่งกันและกัน

แค่เห็นรูปร่างของไดโนเสาร์ สัตว์ต่าง ๆ ในนิทานก็ต่างกลัวเกรง ไม่กล้าพูดคุยเข้าใกล้ แต่รู้หรือไม่ว่าความหมายของคำว่า “ไดโนเสาร์” จริง ๆ แล้วก็มีทั้งคำว่า "ยิ่งใหญ่" และ "น่าสะพรึงกลัว" ด้วยล่ะ

ไดโนเสาร์ ค้นพบครั้งแรกในปี พ.ศ. 2365 โดย นายแพทย์ชาวอังกฤษชื่อ Gideon Mantell และภรรยา ตั้งชื่อครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2384 โดย ศาสตราจารย์ริชาร์ด โอเวน ซึ่งคำว่า "ไดโนเสาร์" มาจากคำภาษาอังกฤษว่า "dinosaurs" เป็นคำผสมจากภาษากรีก 2 คำ คือ "deinos" รวมกับ "sauros" คำว่า "deinos" มีหลายความหมายซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นความหมายในทางบวกมากกว่าทางลบ เช่น มีความยิ่งใหญ่, มีกำลัง, มีอำนาจ และมีความน่าสะพรึงกลัว ส่วนคำว่า "sauros" แปลว่า กิ้งก่าหรือสัตว์เลื้อยคลาน

ได้รู้ความหมายของชื่อไดโนเสาร์แล้ว หลายคนก็คงมั่นใจว่าไดโนเสาร์จะต้องมีรูปร่างใหญ่โต น่ากลัวไปทั้งหมดทุกสายพันธุ์แน่ ๆ แต่ความจริงแล้ว ไดโนเสาร์มีทั้งพันธุ์ที่มีขนาดใหญ่มหึมา น้ำหนักกว่า 100 ตัน ไปจนถึงขนาดเล็กกว่าไก่เลยด้วยซ้ำ ทั้งนี้การแบ่งประเภทของไดโนเสาร์ ก็ไม่ได้แบ่งจากลักษณะการกินว่าเป็นไดโนเสาร์กินพืชหรือไดโนเสาร์กินเนื้อ แต่นักบรรพชีวินวิทยาได้แบ่งประเภทไดโนเสาร์ออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ ๆ จากความแตกต่างของกระดูกเชิงกราน โดยกลุ่มแรก คือ กลุ่มซอริสเซียน (Saurischians) จะมีกระดูกเชิงกรานแบบสัตว์เลื้อยคลาน คือ กระดูกหัวหน่าว (Pubis) และ กระดูกก้น (Ischium) แยกออกจากกันเป็นมุมกว้าง ส่วนกลุ่มที่สอง คือ กลุ่มออร์นิธิสเชียน (Ornithiscians) จะมีกระดูกเชิงกรานแบบนก คือ กระดูกหัวหน่าวและกระดูกก้นชี้ไปทางด้านหลัง

สำหรับในประเทศไทย มีการค้นพบฟอสซิลไดโนเสาร์ครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2523 และมักถูกค้นพบในแถบภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เช่น จังหวัดขอนแก่น กาฬสินธุ์ ชัยภูมิ เป็นต้น

รับฟังเรื่องราวของไดโนเสาร์จากนิทานสนุก ๆ พร้อมช่วงภาษาน่ารู้เสนอสำนวนไทยว่า "ชักแม่น้ำทั้งห้า" ต่อได้ใน รายการ พระอาทิตย์ยิ้มแฉ่ง ตอน ไดโนเสาร์มาแล้ว
 

คลิกฟัง Podcast 
  Website | https://thaip.bs/Hlo5UtD

แผ่นเสียง แผ่นเสียง
กำลังออกอากาศ ไม่มีการออกอากาศ แผ่นเสียง Radio แผ่นเสียง Podcast เล่นแผ่นเสียง พักแผ่นเสียง
คลิปเสียงถัดไป